Support
ศูนย์สุขภาพ BNA.
082-1516092
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ค่า ORAC คืออะไร

get_readi3z.f@hotmail.com | 28-06-2555 | เปิดดู 2420 | ความคิดเห็น 0
 

ค่า ORAC คืออะไร

ค่า ORAC คืออะไร

ORAC Score หรือ ค่า โอแรค ซึ่งย่อมาจาก Oxygen Radical Absorbance Capacity เป็นคะแนนที่ได้จากการทดลองหาค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของอาหารจาก ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ กรรมวิธีและกระบวนการใน การตรวจหาค่า ORAC Score ของอาหารแต่ละชนิดเป็นวิธีการมาตรฐาน ที่ได้รับการ ยอมรับในระดับนานาชาติ มีความสลับซับซ้อน และค่าที่ได้จากการทดลองก็สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานในการประเมินประสิทธิภาพ ของอาหารแต่ละชนิด ที่มีความสามารถในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งอาหารที่มี ค่า ORAC Score สูงก็จะมีประสิทธิภาพในการต้านทาน และลดอุบัติการณ์ ของโรคร้ายหลายชนิด ซึ่งมีสาเหตุจากอนุมูลอิสระ เช่น โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ เป็นต้น

" อาหารที่มี ค่า ORAC Score สูงยังสามารถปกป้องเซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ให้ปลอดภัยจาก การถูกทำลายเสียหายจาก กระบวนการอ๊อกซิเดชั่น ( Oxidative Damage )" ซึ่งเป็นผลมาจาก ปฏิกิริยาเคมีระหว่างอนุมูลของอ๊อกซิ เจน (Oxygen Radicals)และสารเคมีต่างๆที่สะสมอยู่ตาม ธรรมชาติภายในร่าง กาย กระบวนการเหล่านี้แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองกับทุกๆคนในทุกๆ วัน กิจวัตรประจำวันเช่นการทำงาน การรับประทานอาหาร อากาศที่ไม่ บริสุทธิ์ แสงแดด และคลื่นแม่ เหล็ก จากเครื่องใช้ไฟฟ้า แม้แต่กระบวนการ ย่อยอาหารที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ก็ล้วนเป็น กลไกที่สามารถสร้างอนุมูลของ อ๊อกซิเจนขึ้นได้เอง 

เพื่อให้สามารถจินตนาการกลไกต่างๆ เหล่า นี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงขอเปรียบเทียบ ปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น ที่เกิดขึ้น ภายในร่างกายกับปฏิกิริยาการเกิดสนิมในโลหะ โดยเมื่อโลหะสัมผัสกับอากาศ และ เกิดปฏิกิริยาการรวมตัวกันจนเกิดเป็นสนิมขึ้น สนิมจะกัดกินเนื้อโลหะไป เรื่อยๆและทำให้เกิดรูพรุนขึ้น ในเนื้อโลหะชิ้นนั้น หากปล่อยไว้จนกระทั่ง สนิมทำปฏิกิริยาเป็นเวลานาน โลหะชิ้นนั้นก็จะผุกร่อน จนไม่สามารถนำไปใช้งาน อะไรได้อีก

" คงไม่มีใครในโลกนี้ที่ต้องการมีชีวิตอยู่ในร่างกายที่ผุกร่อนเช่น นั้นน่าเสียดายที่อนุมูลอิสระในร่างกายคนเราต่างก็เร่งทำงานอย่าง ขยันขันแข็ง" ไม่แตกต่างไปจากปฏิกิริยาการเกิดสนิมในเนื้อโลหะ ตลอดเวลาที่ร่างกาย เราเจริญเติบโตจากการรับประทานอาหาร การหายใจ การออกกำลังกาย แม้ว่าจะดูเหมือนร่างกายที่เล็กที่สุดภายในร่างกาย ก็ยังผจญกับความเสี่ยง จากการเข้าทำลายและทำให้เซลล์เสียหายจากกระบวนการอ๊อกซิเดชั่น และเกิดอุบัติการณ์ของโรคร้ายต่างๆ ตามมามากมายอย่างคาดไม่ถึง กระบวนการตรวจวัดค่า ORAC Score นั้นสามารถตรวจวัดได้ครอบคลุมอาหารทุกกลุ่ม แม้ว่าความการวัดความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของ อาหารแต่ละชนิดจะกระทำได้ค่อนข้างยาก แต่การตรวจวัดค่า ORAC Score ก็สามารถใช้ในการระบุเฉพาะเจาะจงได้ว่า อาหารชนิดใดมีความสามารถอย่างแท้จริงในการต้านโรคที่เกิดจากกระบวนการของ สารอนุมูลอิสระภายในร่างกาย น่าแปลกที่อาหารหลายชนิดเมื่อนำมารวมกันจะทำให้ได้ค่า ORAC Score ที่สูงขึ้นกว่าการ ตรวจวัดค่า ORAC Score จากอาหารแต่ละชนิดแล้วนำมารวมกัน เรียกได้ว่ามีอาหารบางชนิดที่เมื่อนำมารวมกันด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้องแล้ว จะสามารถเสริมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพในการทำงาน สร้างประโยชน์ ให้แก่ร่างกายได้มากขึ้น 

ในปัจจุบันนี้ที่ผู้คนจำนวนมากหัน มาดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพ และซื้อ รวมทั้งบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลากหลายชนิด ทั้งในรูปแบบของสารสกัดจากวัตถุดิบตามธรรมชาติและสารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งก็ให้ผลลัพท์ที่แตกต่างกันไป อาหาร และรวมไปถึงพืชผักผลไม้หลากหลายชนิดให้ประโยชน์ต่อกลไกการทำงานของร่างกายใน แง่มุมที่แตกต่างกัน บางชนิดให้พลังงานมาก บางชนิดช่วยเสริมภูมิคุ้มกันโรค และบางชนิดช่วยต่อต้านอุบัติการณ์ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรค มะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ซึ่งการตรวจวัดค่า ORAC Score ของอาหารแต่ละชนิดจะช่วยให้ เราสามารถเลือกสรรอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้ดียิ่งขึ้น

โดยปรกติแล้ว ค่าที่ได้จากการตรวจวัด ORAC Score จำเป็นที่จะต้องอิงกับมาตรฐานอย่างเดียวกันของแต่ละผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการเปรียบเทียบ เช่นค่า ORAC Score ต่อน้ำหนักที่คิดเป็นออนซ์ (ใช้กับสินค้าที่เป็นของเหลว) หรือค่า ORAC Score ต่อน้ำหนักของผลไม้ที่คิดเป็นกรัม เมื่อต้องการเปรียบเทียบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ของผลไม้ชนิดต่างๆในกรณีเช่นนี้ ผลไม้ชนิดเดียวกันที่ผ่าน กระบวนการอบแห้งก็จะมีค่า ORAC Score มากขึ้นอีกหลายเท่าตัว เนื่องจากมีการระเหยน้ำออกไป ซึ่งจะทำให้มีปริมาณเนื้อผลไม้มากขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำหนักที่เท่ากัน

ดังนั้นการเข้าใจความหมายและวิธี การตรวจวัดค่า ORAC Score จึงทำให้เราไม่ถูกหลอกลวง หรือถูกชี้นำด้วยวิธีการที่เจตนาลวงให้มีความเข้าใจผิด โดยการเปรียบเทียบสินค้าของตนเอง กับ ผลิตภัณฑ์อื่นโดยใช้มาตรฐานที่ต่างกัน

สำหรับคำถามที่ว่าเราควรจะรับ ประทานอาหารให้ได้ปริมาณ ORAC Score เป็นจำนวนเท่าไร ในแต่ละวัน คำตอบอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งอาจจะสามารถจำแนกตามช่วงอายุ เช่น เด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และวัยชรา หรืออาจจะจำแนกตามปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล เช่น คนที่มีสุขภาพดีมาก กับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังรอรับการรักษา หรือบุคคลที่มีพฤติกรรมการกินอาหารที่มีไขมันสูง พักผ่อนน้อย พักอาศัยหรืออยู่ในเมืองใหญ่ที่มีมลพิษมาก จากผลการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารที่มีค่า ORAC Score สูงติดต่อกันจะสามารถเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่ตรวจวัดได้ใน เลือดถึง 25% ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพหลายราย ต่างก็เปิดเผย ค่า ORAC Score ไว้ในฉลากผลิตภัณฑ์ เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคในการ เลือกซื้ออาหารที่ดี และ เหมาะสมในการดูแลสุขภาพต่อไป

แนวคิด ในการรับประทานอาหารเพื่อเสริมสร้างภูมิของร่างกาย เพื่อต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บไม่ใช่แนวคิดใหม่เราทุกคนต่างก็มุ่งแสวงหาสิ่ง ที่ดีที่สุดเพื่อตัวเราเองและคนที่เรารักเสมอมา นักโภชนาการบำบัดอาจแนะนำให้เรารับประทานอาหารให้มีความหลากหลายเพื่อที่จะ ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรงลดการสะสมของสารพิษ ในร่างกาย แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง การปฏิบัติให้ได้ตามคำแนะนำเหล่านั้นกลับยากยิ่งกว่า

จากความจริงที่ว่าผลไม้เกือบทุก ชนิดในโลกนี้ล้วนมีประโยชน์อย่างยิ่งไม่มากก็น้อย ต่อระบบการทำงานของร่างกาย เป็นแหล่งของสารอาหารวิตตามินและไฟเบอร์ ในผลไม้บางชนิดยังมีส่วนประกอบของสารอาหารตามธรรมชาติหลายอย่างที่มีคุณค่า ยิ่งต่อสุขภาพที่ดี มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ จากการวิจัยพบว่าผลไม้บางชนิดมีสารประกอบตามธรรมชาติที่ให้คุณประโยชน์ต่อ ร่างกาย ในคุณภาพและปริมาณที่โดดเด่นเหนือผลไม้ทั่วไป และเป็นที่มาของการค้นหาผลไม้ที่มีคุณสมบัติเด่นเหล่านั้น (Super Fruits) โดยที่ในปัจจุบันได้มีงานวิจัยค้นคว้าอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ดี เยี่ยมของผลไม้ในตระกูลเบอรี่ โดยเฉพาะมากี้เบอร์รี่ อซาอิ โกจิเบอร์รี่ รวมถึงผลทับทิมและผลมังคุด ที่เป็นผลไม้ที่มีความพิเศษในตัวเองจนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง

 

 

 

 

ความคิดเห็น

วันที่: Sun May 04 19:29:26 ICT 2025

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0